ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel081-951-1100

Line : anteros11

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 
 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100

การจดทะเบียนรับรองบุตร


การจดทะเบียนรับรองบุตร

กฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546) ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้

 

สามารถทำได้ 3 วิธี (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1547)

1. เมื่อบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง

2. บิดาจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตร ซึ่งวิธีการนี้ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า แต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้ว หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป เป็นต้น กรณีนี้บิดาจะต้องมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งรับรองบุตร

3. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

 

ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของบิดาและบุตร ตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

ผลเสียการไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

1. เสียสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้

2. ไม่สามารถเรียกให้บิดาจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เว้นแต่ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

3. หากบุคคลภายนอกทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรไม่สามารถฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้

4. บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า แต่ในความเป็นจริงมักจะถูกผู้จัดการมรดกปฏิเสธว่าไม่ใช่บุตร จึงต้องมีการพิสูจน์ความเป็นบุตรที่แท้จริง

5. หากบิดาเป็นข้าราชการ เมื่อบิดาตาย บุตรมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด แต่เมื่อบุตรไปขอรับเงินจากทางราชการ แต่ทางราชการจะปฏิเสธว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า  ทำให้บุตรต้องมายื่นคำฟ้องต่อศาลก่อน ซึ่งจะทำให้ถูกทายาทเจ้ามรดกคัดค้านว่าไม่ใช่บุตร

6. การลดหย่อนภาษี

 

เอกสารประกอบ มีดังนี้

1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง(บิดา) และมารดา  

2. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง, มารดา และบุตร

3. สูติบัตรของบุตร 

4. ใบมรณบัตรของมารดาของบุตร (กรณีมารดาของเด็กเสียชีวิต)

5. ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล (ถ้ามี) ของผู้ร้อง(บิดา), เด็ก หรือ มารดาของเด็ก

 

6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาของเด็กและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมารดายังมีชีวิต)

7. ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ ของ บิดา, มารดา และเด็ก

8. หนังสือรับรองการเรียนของบุตร จากโรงเรียน

 

เอกสารเพิ่มเติม (กรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ)

9. หนังสือเดินทาง(Passport) พร้อมแปลภาษาไทย

10. VISA แสดงการเข้า-ออกราชอาณาจักร

 

ระยะเวลาดำเนินการ

นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้อง ศาลจะนัดไต่สวนคำร้องไม่น้อยกว่า  45 วัน และภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องแล้ว ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า  ผู้ร้องต้องนำบุตรและมารดาของบุตรไปให้ถ้อยคำต่อผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณาคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา 117)

 

ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องพร้อมมารดาผู้เยาว์ และผู้เยาว์ต้องมาศาล โดยต้องนำเอกสารพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อทำการไต่สวนคำร้อง เมื่อพ้นกำหนด  1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ผู้ร้องสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาล และขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า  แล้วนำเอกสารดังกล่าว ไปดำเนินการจดทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า  ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมสำนักงานกฎหมายลำปาง และ ที่ปรึกษาทนายความลำปาง

1. สำหรับกรณีมารดาเด็กและตัวเด็กเองไม่ได้ให้ความยินยอม บิดาต้องยื่นคำฟ้องทั้งมารดาและบุตรเป็นจำเลยในคดีเดียวกัน

2. กรณีบุตรฟ้องให้บิดารับตนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากอายุเกิน 21 ปี บิดาสามารถปฏิเสธการรับเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้

3. การจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน กรณีไม่ได้ร้องขอต่อศาล เด็กที่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องอายุเกิน 8 ปีบริบูรณ์

4. การตรวจDNAต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว ถ้าเจ้าตัวฝ่ายใดไม่ให้ความยินยอม กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่อีกฝ่ายกล่าวอ้าง

5. ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนของศาล บิดาต้องนำเอกสารอันได้แก่ คำพิพากษาและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปประกอบการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอที่บุตรมีภูมิลำเนา จึงที่ถือว่าสมบูรณ์

6. เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559)

7. สิทธิต่างๆของบุตร มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด โดยไม่คำนึงว่าเด็กจะกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1557)

8. การให้ถ้อยคำต่อนักสังคมสงเคราะห์หรือนักจิตวิทยา ณ สถานพินิจ บิดามารดาต้องแสดงหลักฐานต่างๆเช่นเดียวกับที่ต้องแสดงต่อศาล

9. บิดาสามารถเลือกยื่นคำร้องต่อศาลได้ทั้งภูมิลำเนาของตน หรือที่อยู่กินกันกับมารดาของบุตร

10. การจดทะเบียนรับรองบุตร จะสมบูรณ์เมื่อนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ(ใดก็ได้) พร้อมพยาน 2 คน

11. กรณีตรวจ DNA ต้องตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น ค่าบริการคนละ 6,500 บาท

12. กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและอ่านภาษาไทยได้ ต้องใช้ล่ามในการให้ถ้อยคำสถานพินิจและชั้นศาลด้วย

 

Tag: ทนายลำปาง, ทนายลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายลำปาง, ทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง, ทนายลำปาง เก่ง ๆ, ปรึกษาทนายลำปาง,  ทนายอาสาลำปาง, สภาทนายลำปาง, ทนายความลำปางมืออาชีพ, ทนายความลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายลำปางความมุ่งมั่น,ทนายความลำปางคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายลำปางช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางมุ่งมั่น, สำนักงานกฎหมายลำปางคลายทุกข์ 


#สำนักงานทนายลำปาง #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง #สำนักงานกฎหมายลำปาง #ทนายลำปางเก่งๆ #ปรึกษาทนายลำปาง #ทนายลำปาง #ทนายอาสาลำปาง #สภาทนายลำปาง #ทนายความลำปาง 


Share on Facebook






   จดทะเบียนรับรองบุตร 



กฎหมายถือว่าเด็กซึ่งเกิดจากหญิงที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับชาย เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้หญิงแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๖ 

ที่ปรึกษากฎหมาย และทนายความเชียงใหม่  มีความเห็นว่า การรับรองบุตร เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บุตรนอกสมรสเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาได้ เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ โดยสิทธิต่างๆของบุตร มีผลย่อนหลังไปตั้งแต่วันที่เด็กเกิด โดยไม่คำนึงว่าเด็กจะกลายเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่เมื่อไหร่ 


สามารถทำได้ ๓ วิธี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๗ 

๑ เมื่อบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง แม้การสมรสดังกล่าวจะเป็นโมฆะหรือโมฆียะก็ตาม 

๒ บิดาจดทะเบียนรับรองว่าเด็กเป็นบุตร หมายถึง ทะเบียนรับรองบุตร คร.๑๑ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดาของเด็ก แต่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขในการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรต้องได้รับความยินยอมจากเด็กและมารดาของเด็ก โดยทั้งสองคนต้องไปให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน แต่หากบุคคลทั้งสองไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น มารดาถึงแก่ความตายแล้วหรือมารดาวิกลจริต หรือกรณีเด็กไม่อาจแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ เช่น อายุยังน้อยเกินไป เป็นต้น กรณีนี้นายทะเบียนจะจดทะเบียนรับรองบุตรไม่ได้ จนกว่าจะมีคำสั่งของศาล 

๓ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ในกรณีบิดาไม่สมัครใจยินยอม 

"ทั้งนี้เพื่อเป็นการพิทักษ์และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของบิดาและบุตร ตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป" 


ผลเสียการไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 

๑ เสียสิทธิต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในลักษณะ ๑ หมวด ๒ แห่งบรรพ ๕  

๒ ไม่สามารถเรียกให้บิดาจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  

๓ หากบุคคลภายนอกทำละเมิดให้บิดาตาย บุตรไม่สามารถฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะได้ 

๔ บุตรไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะถือว่าเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๗ คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว แต่ในความเป็นจริงมักจะถูกผู้จัดการมรดกปฏิเสธว่าไม่ใช่บุตร จึงต้องมีภาระการพิสูจน์ความเป็นบุตรที่แท้จริง 

๕ หากบิดาเป็นข้าราชการ เมื่อบิดาตาย บุตรมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด แต่เมื่อบุตรไปขอรับเงินจากทางราชการ แต่ทางราชการจะปฏิเสธว่าต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำให้บุตรต้องมายื่นคำฟ้องต่อศาลก่อน ซึ่งจะทำให้ถูกทายาทเจ้ามรดกคัดค้านว่าไม่ใช่บุตร 

๖ การลดหย่อนภาษี 

๗ Visa ประเภทอุปการะเลี้ยงดูบุตร ในกรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ 

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง มีดังนี้ 

๑ บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา และมารดา     

๒ ทะเบียนบ้านของบิดา มารดา และบุตร 

๓ สูติบัตรของบุตร    

๔ ใบมรณบัตรของมารดา (กรณีมารดาเสียชีวิต) 

๕ ใบเปลี่ยนชื่อตัว / ชื่อสกุล ของบิดา มารดา และบุตร (ถ้ามี) 

๖ หนังสือให้ความยินยอมของมารดาของเด็ก กรณีมารดายังมีชีวิต 

๗ ใบสำคัญการหย่าของมารดา (ถ้ามี) 

๘ ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ ของ บิดา มารดา และบุตร (ในรูปภาพควรมีญาติอยู่ด้วย) 

๙ หนังสือรับรองการเรียนของบุตร จากโรงเรียน 

๑๐ ผลตรวจสารพันธุกรรมหรือ DNA ของสถานพยาบาลของรัฐ (กรณีมารดาเสียชีวิต) 

 

เอกสารเพิ่มเติม (กรณีบิดาเป็นชาวต่างชาติ) 

๑๑ หนังสือเดินทางPASSPORT พร้อมแปลภาษาไทย 

๑๒ VISA แสดงการเข้า-ออกราชอาณาจักร 

๑๓ กฎหมายเกี่ยวกับรับรองบุตรของประเทศของบิดาหรือมารดาต่างชาติ กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องการขัดกันของกฎหมาย ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. ๒๔๘๑ 


ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินคดี 

กำหนดวันนัดไต่สวนคำร้อง ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน และภายในเวลา ๑๕ วัน บิดาต้องนำบุตร และมารดาไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฯ เพื่อรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาลประกอบในการพิจารณา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว มาตรา ๑๑๗ในวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้อง มารดา และบุตร ต้องมาศาลพร้อมนำเอกสารตัวจริง เมื่อพ้น ๑ เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง บิดาสามารถขอคัดถ่ายคำสั่งศาล และขอหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุด แล้วนำไปดำเนินการจดทะเบียน ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอใดก็ได้ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๒ - ๓ เดือน 


ค่าธรรมเนียมศาล 

๑ ค่าขึ้นศาล ๒๐๐ บาท 

๒ ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ ๕๐๐ บาท 

๓ ค่าปิดประกาศคำร้อง ตามภูมิลำเนาผู้ร้อง ไม่เกิน ๗๐๐ บาท 

๔ ค่าส่งหมายและสำเนาคำร้องไปยังคู่ความอีกฝ่าย ไม่เกิน ๗๐๐ บาท 

๕ ค่าส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนฯ ๓๐๐ บาท 



ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกาที่ น่าสนใจ 


ประเด็น ยื่นคำร้อง โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักงานทะเบียน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ถือว่าชอบ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๙๘๒/๒๕๕๑ 

ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๔๘ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก ส่วนวรรคสามและวรรคสี่บัญญัติว่า ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดาหรือไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล 

ทีมทนายความลำปาง และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดลำปาง ขอเรียนว่า จากบทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าประสงค์ให้เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมเป็นการเฉพาะตัว การที่นายทะเบียนแจ้งแก่ผู้ร้องว่าไม่สามารถรับจดทะเบียนให้ได้โดยไม่แจ้งการขอจดทะเบียนของผู้ร้องไปยังผู้คัดค้านและเด็กก่อนตาม มาตรา ๑๕๔๘ วรรคสอง หรือตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา ๑๙ วรรคสอง เพราะปรากฏว่าขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนขอจดทะเบียนนั้น เด็กหญิง ป. อายุเพียง ๓ ปีเศษ ยังไร้เดียงสาไม่สามารถให้ความยินยอมได้ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตาม พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา ๑๙ แล้ว ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้พิพากษาให้ผู้ร้องจดทะเบียนเด็กหญิง ป. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ 

ประเด็น ยื่นคำฟ้อง โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบสำนักงานทะเบียน สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๔๗/๒๕๒๑ 

บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ถ้า) ประสงค์จะจดทะเบียนบุตรที่เกิด ก่อนสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจะต้องไปขอจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อสำนักทะเบียน ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านการขอจดทะเบียนบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงจะมีอำนาจนำคดีมาฟ้องศาลได้โดยฟ้องเด็กและมารดาร่วมกันเป็นจำเลย 
ทีมทนายความลำปาง และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดลำปาง ขอเรียนว่า เมื่อปรากฏทั้งจากคำบรรยายฟ้องของโจทก์และทางนำสืบว่าก่อนฟ้อง โจทก์ไม่เคยไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองเด็กชายโอภาสต่อนายทะเบียนหรือจำเลยได้คัดค้านการขอจดทะเบียนข้อโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายจึงยังไม่เกิดขึ้นแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาล แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ ไว้ในคำให้การและไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามศาลฎีกาก็ยกขึ้นได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๒(๕) 

โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปให้ความยินยอมจดทะเบียนว่าเด็กชาย อ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งขอให้โจทก์ มอบคืนเด็กชาย อ. แก่จำเลย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลก็พิพากษาให้โจทก์มอบเด็กชาย อ. คืน ให้กับจำเลยตามฟ้องแย้งได้ 


ประเด็น มารดาเด็กสามารถฟ้องให้บิดารับรองบุตร พร้อมเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูในคดีเดียวกันได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๖๘/๒๕๓๓ 

ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๕๖ วรรคสอง ให้อำนาจเด็กฟ้องคดีให้รับรองเด็กเป็นบุตรได้เองโดยเฉพาะ ขณะยื่นฟ้องเด็กซึ่งเป็นโจทก์ก็ยังไม่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นคดีอุทลุมไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๖๒ ส่วนฟ้องของโจทก์ในเรื่องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งเป็นผลหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตรของโจทก์แล้ว และเป็นเรื่องต่อเนื่องจากการรับรองบุตร 

ทีมทนายความลำปาง และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดลำปาง ขอเรียนว่า  โจทก์จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูด้วย 


ประเด็น ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลายคน ศาลจะสั่งรวมไม่ได้ ต้องสั่งเป็นรายบุคคลไป 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๕๙๖/๒๕๔๖ 

สิทธิของบุตรผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาเป็นสิทธิของบุตรผู้เยาว์แต่ละคนจะพึงได้รับตามความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งคดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๑ กำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองรวมกันมาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข 


ประเด็น บิดาฟ้องรับรองบุตร สามารถขอถอนอำนาจปกครองมารดาในคดีเดียวกันได้ 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๓๒๓/๒๕๔๐ 

ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๘๒ วรรคหนึ่ง 

ทีมทนายความลำปาง และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดลำปาง ขอเรียนว่า  ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า 

 
อายุความ 


ทีมทนายความลำปาง และสำนักงานที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดลำปาง ขอเรียนว่า กรณีบุตรฟ้องให้บิดารับตนเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย หากอายุเกิน ๒๑ ปี บิดาสามารถปฏิเสธการรับเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ โดยยกอายุความขั้นต่อสู้คดี 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๓๐๔/๒๕๒๘ 

อายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๖ นั้น คู่ความจะต้องยกขึ้นเป็นประเด็น ศาลจึงวินิจฉัยให้ตาม มาตรา ๑๙๓ ศาลจะยกอายุความขึ้นวินิจฉัยเองโดยไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นเป็นประเด็นไม่ได้ 


ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา ๑๕๔๘ บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อ เมื่อได้รับความยินยอมของเด็กและมารดาเด็ก 

ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก ถ้า เด็กหรือมารดาเด็กไม่คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายใน ๖๐ วันนับแต่การ แจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทยให้ขยายเวลานั้นเป็น ๑๘๐ วัน 

ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร ต้องมีคำพิพากษาของศาล 

เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้ 


มาตรา ๑๕๕๕ ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 

(๑) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วยกฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ 

(๒) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ 

(๓) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน 

(๔) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิดหรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น 

(๕) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้ 

(๖) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น 

(๗) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร 

พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้องฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฏในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น 

ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้ ให้ยกฟ้องเสีย 

 
มาตรา ๑๕๕๗ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๕๔๗ ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้ 

 

มาตรา ๑๕๕๖ การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้ 

เมื่อเด็กมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม 

ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายใน ๑ ปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ 

ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่ ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายใน ๑ ปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว  แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้น ๑๐ ปีนับแต่วันที่เด็กนั้นตาย 

 

มาตรา ๑๕๕๙ เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ 

 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช ๒๔๘๑ 

ภาค ๕ ครอบครัว 

 

มาตรา ๒๙ การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติแห่งสามีของมารดาในขณะที่บุตรนั้นเกิด ถ้าหากในขณะที่กล่าวนั้น สามีได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของสามีในขณะที่ถึงแก่ความตายให้ใช้กฎหมายเช่นเดียวกันบังคับการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร 

 

มาตรา ๓๐ สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดา 

ในกรณีที่เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย สิทธิและหน้าที่ระหว่างมารดากับบุตร ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของมารดา 

 

มาตรา ๓๑ การรับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดาในขณะที่รับเป็นบุตร ถ้าหากในขณะนั้นบิดาได้ถึงแก่ความตายเสียแล้ว ก็ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบิดาขณะที่ถึงแก่ความตาย 

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากที่ปรึกษากฎหมาย และทนายความเชียงใหม่ 

๑ สำหรับกรณีมารดาเด็กและตัวเด็กเองไม่ได้ให้ความยินยอม บิดาต้องยื่นส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องให้มารดาเด็กเข้ามาคัดค้านในคดี 

๒ การจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน เด็กที่สามารถให้ความยินยอมได้ ต้องอายุเกิน ๘ ปีบริบูรณ์ 

๓ การตรวจ DNA ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าตัว ถ้าเจ้าตัวฝ่ายใดไม่ให้ความยินยอม กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่อีกฝ่ายกล่าวอ้าง 

๔ DNA ต้องตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเท่านั้น เช่น ร.พ.รามาธิบดี ค่าบริการคนละ ๖,๕๐๐ บาท 

๕ กรณีมารดาชีวิตแล้ว ศาลจะมีคำสั่งบังคับให้บิดากับบุตรไปตรวจ DNA แล้วนำผลมาแสดงต่อศาลก่อนวันนัดไต่สวน 

๖ ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนของศาล บิดาต้องนำเอกสาร อันได้แก่ คำพิพากษา และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ ใดก็ได้ พร้อมพยาน ๒ คน จึงที่ถือว่าสมบูรณ์ 

๗ การให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่สถานพินิจ บิดามารดาต้องแสดงหลักฐานตัวจริงต่างๆเช่นเดียวกับที่ต้องแสดงต่อศาล 

๘ บิดาสามารถเลือกยื่นคำร้องต่อศาลได้ทั้งภูมิลำเนาของตน หรือที่อยู่กินกันกับมารดาของบุตร 

๙ กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและอ่านภาษาไทยได้ ต้องใช้ล่ามในการให้ถ้อยคำสถานพินิจและในชั้นศาล 

๑๐ เพียงแต่การแจ้งในสูติบัตรบุตรว่าเป็นบิดา ไม่ถือว่าเป็นการจดทะเบียนรับรองบุตร แต่เป็นหลักฐานหรือข้อเท็จจริงเบื้องต้นสำหรับการฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น 

๑๑ การฟ้องคดีบิดาให้รับเด็กเป็นบุตร เมื่อเด็กอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ต้องฟ้องด้วยตนเอง หากเด็กยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้ฟ้องแทน 

๑๒ หากต้องการใช้คำพิพากษามีผลบังคับใช้ในประเทศของบิดาต่างชาติ ต้องแสดงข้อกฎหมายของประเทศนั้นๆต่อศาลด้วย 

๑๓ กรณีบิดาตาย บุตรสามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งรับรองเป็นบุตรของผู้ตายได้  

๑๔ กรณีมารดาไม่ให้ความยินยอม หรือเด็กยังไร้เดียงสาอยู่ ผู้ร้องไม่จำต้องไปดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน อ้างอิงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๓๖๕/๒๕๕๐ 

๑๕ กรณีมารดาไม่ให้ความยินยอม ควรต้องให้ทนายความมีหนังสือแจ้งมารดาเด็กก่อนยื่นคำร้อง 

๑๖ คดีฟ้องรับรองบุตร ตาม พรบ.จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.๒๕๗๘ มาตรา ๒๐ ให้โจทก์ยื่นสำเนาคำพิพากษาพร้อมรับรอง ต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการบันทึกในทะเบียนได้เลย 

๑๗ ค่าเลี้ยงดูควรใช้อายุเป็นเกณฑ์มากกว่าการศึกษา 

๑๘ การฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร กรณีบิดามีชีวิตต้องทำเป็นคำฟ้อง กรณีบิดาเสียชีวิตต้องทำเป็นคำร้อง และส่งสำเนาให้ทายาทคัดค้าน อ้างอิงคำพิพากษาศาลฏีกาที่ ๕๕๒๕/๒๕๓๗ ๘๕๐๔/๒๕๔๔ 

๑๙ กรณีศาลมีคำพิพากษาให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แต่ไม่ปฏิบัติ อีกฝ่ายสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกตัวมาสอบถามและตักเตือนได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของศาล ศาลมีอำนาจออกหมายจับและสั่งกักขังจนกว่าจะนำเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธิพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๖๒ 

 Tag : ทนายลำปาง, ทนายลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายลำปาง, ทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง, ทนายลำปาง เก่ง ๆ, ปรึกษาทนายลำปาง,  ทนายอาสาลำปาง, สภาทนายลำปาง, ทนายความลำปางมืออาชีพ, ทนายความลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายลำปางความมุ่งมั่น,ทนายความลำปางคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายลำปางช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางมุ่งมั่น, สำนักงานกฎหมายลำปางคลายทุกข์ 

#สำนักงานทนายลำปาง #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง #สำนักงานกฎหมายลำปาง #ทนายลำปางเก่งๆ #ปรึกษาทนายลำปาง #ทนายลำปาง #ทนายอาสาลำปาง #สภาทนายลำปาง #ทนายความลำปาง 

Sidebar    Mozrank check tool
https://www.ultimatewebtraffic.com
ultimatewebtraffic com
1minutereview org/

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×