“ถ้าไม่มีพินัยกรรม ตายแล้ว มรดกเป็นของใคร” ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าแผนภาพที่เราแชร์กันในวันนี้มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามกฎหมาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “ทายาทโดยพินัยกรรม” และ “ทายาทโดยธรรม” ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง ทายาทโดยธรรม เนื่องจาก เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กองมรดก 1 กองนั้น ประกอบไปด้วย
1. ทรัพย์สิน เช่น เงิน รถยนต์ บ้าน
2. สิทธิหน้าที่ เช่น สิทธิในการครอบครองที่ดิน,สิทธิหน้าที่ตามสัญญาเช่า
3. ความรับผิดเช่น หนี้สิน ความเสียหาย
จะเห็นได้ว่า มรดกที่ว่านั้น ไม่ได้มีเฉพาะทรัพย์สินเงินทองเท่านั้น แต่รวมถึงสิทธิหน้าที่ และ ความรับผิด ซึ่งก็คือ หนี้สิน ด้วยนั่นเอง
ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้ตายตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำไว้แต่พินัยกรรมนั้นไร้ผล ซึ่งการแบ่งทรัพย์มรดกกองนี้ระหว่างทายาทโดยธรรมนั้นต้องแบ่งตามลำดับชั้นดังต่อไปนี้
1. ผู้สืบสันดาน คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม
2. บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5. ปู่ ย่า ตา ยาย
6. ลุง ป้า น้า อา
สำหรับคู่สมรสของเจ้ามรดกนั้นก็ถือเป็นทายาทโดยธรรม ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าแผนภาพต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับเจ้ามารดก และก็จะได้รับมรดกตามสัดส่วน ซึ่งทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับข้างต้นนั้นไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน แต่หากทายาทลำดับต้นยังมีชีวิตอยู่ ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับดังกล่าวเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก มรดกเลย เว้นแต่ในกรณีที่ผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ และบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ให้บิดามารดาได้รับส่วนแบ่งเช่นเดียวกับผู้สืบสันดาน
สัดส่วนการแบ่งมรดกให้คู่สมรสและทายาท สรุปง่ายๆได้ดังนี้
หากเจ้าทรัพย์มรดกตายนั้น
- คู่สมรสและลูกยังมีชีวิตอยู่ แต่พ่อแม่เสียชีวิตแล้ว ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรสและลูกในสัดส่วนเท่าๆกัน
- คู่สมรส และพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีลูก ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรสและพ่อแม่ในสัดส่วนเท่าๆกัน
- คู่สมรส ลูก และ พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรส ลูก และ พ่อแม่ในสัดส่วนเท่าๆกัน
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีลูกและพ่อแม่เสียชีวิตแล้ว
- คู่สมรสและพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรสครึ่งหนึ่ง และพี่น้องร่วมบิดมารดาเดียวกันแบ่งตามจำนวนคน
- คู่สมรสและพี่น้องร่วมมารดา หรือ บิดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรส 2 ส่วน พี่น้องร่วมมารดา หรือ บิดาเดียวกัน ได้รับมรดก 1 ส่วน
- คู่สมรสและปู่ ย่า ตา ยาย ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรส 2 ส่วน ปู่ ย่า ตา ยาย ได้รับมรดก 1 ส่วน
- คู่สมรสและลุง ป้า น้า อา ยังมีชีวิตอยู่ ทรัพย์มรดกจะตกแก่คู่สมรส 2 ส่วน ลุง ป้า น้า อา ได้รับมรดก 1 ส่วน
ขอบคุณสาระน่ารู้จาก เพจสำนักงานกิจการยุติธรรม
Tag: ทนายลำปาง, ทนายลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายลำปาง, ทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง, ทนายลำปางเก่งๆ, ปรึกษาทนายลำปาง, ทนายอาสาลำปาง, สภาทนายลำปาง, ทนายความลำปางมืออาชีพ, ทนายความลำปางช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายลำปางความมุ่งมั่น, ทนายความลำปางคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายลำปางช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางมุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางคลายทุกข์
#สำนักงานทนายลำปาง #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง #สำนักงานกฎหมายลำปาง #ทนายลำปางเก่งๆ #ปรึกษาทนายลำปาง #ทนายลำปาง #ทนายอาสาลำปาง #สภาทนายลำปาง #ทนายความลำปาง