การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลวิกลจริตที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่ขาดความรู้สึกและขาดความรับผิดชอบอย่างรุนแรง สำนักงานทนายความ และที่ปรึกษากฎหมายในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขอยกตัวอย่าง เช่น โรคสมองฝ่อ สมองเสื่อมขั้นรุนแรง สมองพิการ โรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรคพาร์กินสัน โรคชรา เจ็บป่วยไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่สามารถประกอบกิจการงาน และทำภารกิจส่วนตัวหรือช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาซึ่งต้องจัดให้อยู่ในความดูแลของผู้อนุบาล ตามมาตรา 28
ไม่สามารถทำการได้ด้วยตนเอง ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำการแทนทั้งหมด แต่บางนิติกรรมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามมาตรา 1574
ส่วนมากจะเป็นพ่อ แม่ ลูก หรือคู่สมรส ผู้ซึ่งดูแลให้การักษาคนไร้ความสามารถ ถ้าไม่ได้เป็นผู้ดูแล ศาลก็มักจะไม่แต่งตั้งให้เป็นผู้อนุบาล คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 74/2511 คนอายุ 92 ปี ไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้สึกตัว พูดรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง ถือเป็นคนวิกลจริตแล้ว
คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ 1 เป็นบุคคลมีกายพิการ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด อัมพาต ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น จากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ ชราภาพ เป็นต้น 2 มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เช่น จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต 3 ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน จนในที่สุดต้องหมดตัว 4 ติดสุรา เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว แต่ไม่ถึงกับวิกลจริต ต้องจัดอยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ ตามมาตรา 32
ถ้าคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการไป โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ มีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ แต่ผู้พิทักษ์ไม่สามารถกระทำการแทนได้ ตามมาตรา 34
ถ้าไม่มีคู่สมรส ให้พ่อแม่เป็นผู้พิทักษ์ ถ้ามีคู่สมรสให้คู่สมรสเป็นผู้พิทักษ์
บุคคลที่มีสิทธิร้องขอ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 1 คู่สมรส 2 บุพการี บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย 3 ผู้สืบสันดาน ลูก หลานเหลน 4 ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ 5 ผู้ที่ปกครองดูแล เช่น พี่สาว น้องชาย เป็นต้น 6 พนักงานอัยการ
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง 1 ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง 2 ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน หรือPassport ของผู้ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 3 เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เช่น สูติบัตร ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญการหย่า ใบมรณบัตรของคู่สมรสผู้ไร้ความสามารถหรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ ทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น 4 รายงานความเห็นแพทย์ ระบุว่ามีความผิดปกติทางด้านร่างกาย สมอง หรือจิตใจ เช่น เป็นโรคสมองเสื่อม เส้นเลือดตีบ ไม่สามารถตัดสินใจ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่สามารถทำนิติกรรมต่างๆได้ (สมควรให้มี ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ หรือจำเป็นต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด) 5 ภาพถ่ายของคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ 6 บัญชีเครือญาติ 7 หนังสือยินยอมจากทายาทที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) 8 หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี) 10 บัตรประจำตัวผู้พิการ (ถ้ามี) 11 ตัวบทกฎหมายของสัญชาติผู้ไร้หรือเสมือนไร้ความสามารถ (กรณีชาวต่างชาติ)
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น สามีภริยาย่อมต้องเป็นผู้อนุบาล เว้นแต่ผู้อื่นเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2509 ตามปกติสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลภริยาซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาลทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดคัดค้านต่อศาล ผู้คัดค้านชอบที่จะนำสืบแสดงเหตุสำคัญให้เห็นว่าศาลควรตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2530 จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 หรือ 29 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดาจำเลยและสามีของมารดาจำเลย ทั้งศาลมีอำนาจแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาได้ ตามมาตรา 1463 แม้ตามปกติคู่สมรสจะเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลตามกฎหมายก็ตาม
ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใดๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน
ประเด็น การตั้งผู้อนุบาลร่วม อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากต่อการทำหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน จะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าว คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต
มาตรา 31 ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใดๆ ดังกล่าวมาในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น
มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ร้องขอต่อศาล ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้อยู่ในความพิทักษ์ การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองในบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้ มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 33 ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ หรือในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเพราะมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นวิกลจริต เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ในมาตรา 28 ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
มาตรา 34 คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้ว จึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ (1) นำทรัพย์สินไปลงทุน (2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุน ต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น (3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน ยืมหรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ (5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนหรืออสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี (6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศลการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา (7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพัน หรือไม่รับการให้โดยเสน่หา (8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไป ซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือในสังหาริมทรัพย์อันมีค่า (9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือซ่อมแซมอย่างใหญ่ (10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ เว้นแต่การร้องของตามมาตรา 35 หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์ (11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไปในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลังศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้
ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้ การนั้นเป็นโมฆียะ
มาตรา 1463 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช 2481 ภาค 2 สถานะและความสามารถของบุคคล
มาตรา 10 ความสามารถและความไร้ความสามารถของบุคคลย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของบุคคลนั้น
ค่าธรรมเนียมศาล 1 ค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท 2 ค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 500 บาท
ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดี คือ ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มูลคดีเกิดขึ้นหรือที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากที่ปรึกษากฎหมาย และทนายความแม่ฮ่องสอน 1 โดยคำสั่งของศาลจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยสามารถกด "ค้นหา" ได้ตาม Link http://www.mratchakitcha.soc.go.th/announce.html 2 การยื่นคำร้องให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ต้องอ้างตัวบทกฎหมายของสัญชาตินั้นด้วย 3 เมื่อเหตุที่ทำให้เป็นผู้ไร้ความสามารถสิ้นสุดลง ก็สามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ 4 การเป็นผู้ไร้ความสามารถมีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง ฉะนั้นนิติกรรมที่ทำก่อนหน้าย่อมมีผลสมบูรณ์ 5 ในการร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถก็ดี หรือคนเสมือนไร้ความสามารถก็ดี ถ้าศาลเห็นว่าไม่ถึงระดับไร้ความสามารถ ศาลอาจสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ หรือในทางกลับกัน โดยผู้ร้องควรยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องนั้นด้วย 6 กรณีเกี่ยวข้องกับผู้เยาว์ ผู้ร้องต้องไปให้ถ้อยคำสถานพินิจด้วย 7 เหตุส่วนใหญ่ที่ต้องตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เพราะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่าย หรือค่ารักษาพยาบาลได้ 8 หากความผิดปกติของโรคไม่ชัดเจน ศาลอาจมีคำสั่งให้นำแพทย์ผู้ทำการรักษามาเบิกความได้
Tag : ทนายลำปาง, ทนายลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายลำปาง, ทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง, ทนายลำปาง เก่ง ๆ, ปรึกษาทนายลำปาง, ทนายอาสาลำปาง, สภาทนายลำปาง, ทนายความลำปางมืออาชีพ, ทนายความลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายลำปางความมุ่งมั่น,ทนายความลำปางคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายลำปางช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางมุ่งมั่น, สำนักงานกฎหมายลำปางคลายทุกข์
#สำนักงานทนายลำปาง #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง #สำนักงานกฎหมายลำปาง #ทนายลำปางเก่งๆ #ปรึกษาทนายลำปาง #ทนายลำปาง #ทนายอาสาลำปาง #สภาทนายลำปาง #ทนายความลำปาง
|