ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel081-951-1100

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed


 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 
 

 
 
 
ตำรวจยัดยาเสพติดควรทำอย่างไร ?

 

ในกรณีที่มีตำรวจยัดยาเสพติดเรานั้น ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าต้องพิจารณาสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. บันทึกการจับกุมสำคัญที่สุด ต้องตรวจสอบบันทึกการจับกุมของตำรวจหรือปปส. เพราะถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่สุดในคดี  ตำรวจจะเบิกความขยายผลหรือขัดกับบันทึกการจับกุมหรือแตกต่างกันไม่ได้ และตำรวจต้องมอบสำเนาบันทึกการจับ ป.วิ.อ.มาตรา 84(1) (ฎีกา 6836/2541,3607/25382705/253963/2533,408/2485)

2. ถ้ามีถ้อยคำรับสารภาพในชั้นจับกุม  ป.วิ.อ.มาตรา 84  วรรคสี่  ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลย   ดังนั้น  ถึงแม้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม  ก็ไม่ได้มีผลเสียต่อรูปคดี  ยังสามารถให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นศาลได้  หากมิได้กระทำความผิดและมีพยานหลักฐานหักล้างโจทก์ได้

3. คำรับสารภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนจะต้องมิได้เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ ถ้าให้การเพราะถูกบังคับจากตำรวจ  ถือว่ารับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยไม่ได้  ดังนั้นถึงแม้ผู้ต้องหารับสารภาพ  ก็ยังกลับคำให้การในชั้นศาลต่อสู้คดีได้  ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าหากมีพยานหลักฐานอื่นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ตัวอย่างที่ศาลยกฟ้อง เช่น คำเบิกความของตำรวจชุดจับกุมซึ่งเป็นพยานคู่ แตกต่างกันในสาระสำคัญ เช่น สายลับ การส่งมอบยาเสพติด  จำนวนยาเสพติด  แหล่งที่พบยาเสพติด  สถานที่ที่พบยาเสพติด  ยานพาหนะที่ใช้ในการขนยาเสพติด  หรือแตกต่างจากคำให้การของตนเองในชั้นจับกุม บันทึกการจับกุมในชั้นสอบสวนหรือแตกต่างจากบัญชีของกลาง  แผนที่สังเขปที่ตัวเองเป็นผู้จัดทำขึ้น เป็นต้น  (ฎีกา 1567-1568/24798021/2544,6370/2539,7562/2537)

4. ถ้อยคำอื่นในบันทึกการจับกุมของผู้ต้องหา  เช่น ยอมรับว่าได้ซื้อยาบ้ามาจากนาย ก. ยอมรับว่าค้ายามานานแล้ว  ยอมรับว่านำยาบ้าไปซุกซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่ง  รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยได้  ถ้าก่อนที่ตำรวจจะถามผู้ต้องหาได้เตือนผู้ต้องหาให้รู้ตัวก่อนว่า ถ้อยคำเกี่ยวกับยาเสพติดจะสามารถรับฟังลงโทษผู้ต้องหาได้  และต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า จะให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้  จึงจะรับฟังลงโทษผู้ต้องหาได้  ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคท้าย  (ฎีกา 3254/2553) ถ้อยคำอื่นในชั้นจับกุมของผู้ต้องหาหากเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ  ไม่มีที่มาที่ไป ผู้ต้องหายังสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาคดีให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ เช่น  ไม่ได้ให้ถ้อยคำดังกล่าว หรือถ้อยคำดังกล่าวขัดต่อเหตุผลไม่น่าจะเป็นไปได้  เป็นต้น

5. ของกลางขณะถูกจับ  ถ้ามิได้อยู่กับผู้ต้องหา โอกาสต่อสู้คดีมีมาก  แต่ถ้าตำรวจยัดยาหรือเขียนลงในบันทึกการจับกุมว่า จับได้พร้อมของกลาง โดยทั่วไปมุขของตำรวจมักจะระบุว่า จับได้ในมือข้างขวาหรือกระเป๋ากางเกงด้านขวา  เป็นมุขเก่าๆ  ดังนั้น ถ้าตำรวจยัดข้อหาดังกล่าวจะต้องไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม  และให้ร้องขอความเป็นธรรมว่า ถูกยัดยาหรือจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  อันนี้ก็เป็นข้อต่อสู้ที่ต่อสู้ได้ ป.อ.มาตรา 83(ตัวการร่วม) ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น  ยาบ้าจำนวน 2,000 เม็ด  ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าเป็นยาบ้าจำนวนมากไม่น่าจะอยู่ในกระเป๋ากางเกงยีนส์ของจำเลยเพราะอาจแตกเสียหายได้ หรือยาบ้าบรรจุอยู่ในกระเป๋าเดินทาง  ล็อคด้วยกุญแจพร้อมรหัส  หรือยาบ้าวางอยู่กลางบ้านเปิดเผย  หรือยาบ้าจำนวนน้อยอยู่ในกระเป๋ากางเกง  หากจำเลยค้ายาบ้าจริง น่าจะถือไว้ในมือเพราะง่ายต่อการโยนทิ้งเพื่อทำลายหลักฐานหรือตำแหน่งที่จำเลยอยู่ห่างไกลจากยาเสพติด  เป็นต้น

6. ของกลางที่พบในบ้านของผู้ต้องหา  ถ้ามีผู้ต้องหาคนหนึ่งรับเป็นเจ้าของแล้ว  เช่น สามีรับสารภาพว่าเป็นของตนเอง  ส่วนใหญ่ภรรยาจะหลุด  ตำแหน่งที่พบของกลาง  ถ้าซุกซ่อนปกปิดมิดชิดอยู่  คนที่ต้องติดคุกคือเจ้าของห้อง  แต่บุคคลอื่นที่อยู่ในห้องอาจมีข้อสงสัยว่า อาจจะไม่ทราบว่ามียาเสพติด ยังมีลู่ทางต่อสู้อยู่ ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น  ไม่ได้พักอาศัยอยู่เป็นประจำ กลับบ้านดึก  หรือมีบุคคลอื่นเข้าออกหลายคน

7. คำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน  มีน้ำหนักน้อย  ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยลำพัง  ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227/1  จะต้องมีพยานหลักอื่นประกอบ  นอกจากคำซัดทอด เช่น พบยาเสพติดของกลางเพิ่มเติม เป็นต้น (ฎีกา 1014/2540,758/2487) ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น พยานถูกจับข้อหาค้ายาเสพติด ซัดทอดจำเลยเพื่อต้องการลดโทษหรือตำรวจสัญญาว่าจะกันไว้เป็นพยาน  คำให้การดังกล่าวไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

8. ธนบัตรล่อซื้อ การพบธนบัตรในตัวผู้ต้องหาไม่ได้หมายถึงว่า ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติด  หากมีช่องว่างไม่ใกล้ชิดติดต่อกับช่วงเวลาจำหน่ายยาเสพติด   และโจทก์ไม่มีพยานมายืนยันว่าเห็นจำเลยจำหน่ายยาเสพติด  อาจมีข้อสงสัยว่าจำเลยอาจรับธนบัตรไว้ด้วยเหตุผลอื่นก็เป็นได้   ตำรวจจะลงประจำวันก่อนหรือจะไม่ลงประจำวันก็ได้  (ฎีกา 270/2542)

9. การล่อซื้อยาเสพติดของตำรวจ  ถ้าผู้ต้องหามียาเสพติดอยู่แล้ว และสายลับล่อซื้อถือว่าทำได้  ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(10)  และเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมายตามความจำเป็นและสมควรแต่ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้มียาเสพติดไว้ในความครอบครอง  แต่ไปบังคับหรือใช้ให้ไปหายาเสพติดมาส่งมอบให้ตำรวจ ถือว่า เป็นการล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจากการล่อซื้อรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้  (ฎีกา 4301/25434077/2549,4085/2545)

10.ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งมอบยาเสพติดต้องถูกริบแต่ในทางปฏิบัติตำรวจมักเรียกเงินจากผู้ต้องหาและปล่อยรถไป  แต่ถ้ารถยนต์ติดสัญญาเช่าซื้อ ต้องแจ้งยกเลิกสัญญากับบริษัทไฟแนนซ์แล้วให้ไฟแนนซ์ไปขอรถคืนจากตำรวจ

11.การหาทนายความว่าความคดียาเสพติด ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

-  มีประสบการณ์คดียาเสพติดมายาวนาน มองคดีทะลุปรุโปร่ง

-  มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ  ไม่เน้นการวิ่งเต้น  ยัดเงินให้ตำรวจ  พวกนี้เรียกว่านักวิ่งความ ไม่ใช่ว่าความ เป็นภัยสังคม

-  มองคดีแบบบูรนาการครบทุกด้าน

-  มีแผนในการต่อสู้คดีที่สมเหตุสมผลน่าเชื่อถือ

-  เปิดเผยแผนได้  ไม่ใช่อ้างว่าเป็นความลับบอกไม่ได้

-  ต้องเน้นตัวบทกฎหมาย  เวลาให้คำปรึกษากับตัวความ

-  ยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาขึ้นมาสนับสนุนคำปรึกษาของตนเองว่าศาลฎีกาเคยวางแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยและยกฟ้อง เป็นต้น

              ทุกวันนี้มีการจับกุมคดียาเสพติดเป็นจำนวนมาก แล้วเมื่อจับผู้กระทำความผิดได้แล้ว ตำรวจมักจะทำการขยายผลเพื่อหาตัวผู้บงการใหญ่ซึ่งอยู่เบื้องหลังการค้ายาเสพติด โดยวิธีการของตำรวจมักจะเนินการด้วยวิธีการต่อไปนี้

  1. บังคับให้ผู้กระทำความผิดใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเองโทรไปหาบุคคลซึ่งติดต่อค้าขายยาเสพติดด้วย และให้หลอกล้อเพื่อนัดส่งยาเสพติด

  2. หลังจากนั้นจึงสะกดรอย เพื่อรอจังหวะในการจับกุม

  3. ตำรวจมักจะชักจูงให้ผู้กระทำความผิดที่จับได้โดยต่อรองว่าให้ความร่วมมือกับตำรวจ จะปล่อยตัวไป ส่วนใหญ่ผู้ต้องหามักกลัวและยอมทำตาม

  4. เมื่อจับตัวผู้กระทำความผิดได้เพิ่มขึ้นแล้ว บางครั้งตำรวจก็ปล่อยตัวไป บางครั้งก็ลดจำนวนยาเสพติดของกลางให้ เช่น 4,000 เม็ด เหลือ 2,000 เม็ด  หรือบางครั้งไม่มีการลดจำนวนยาเสพติด

  5. สายลับของตำรวจ บางครั้งก็เป็นพวกขี้ยา ,บางครั้งก็เป็นตำรวจไม่แน่นอน

  6. แหล่งผลิตยาเสพติดขนาดใหญ่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว ยากในการจับกุม

  7. ในกรณีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่าให้ความช่วยเหลือกับทางราชการในการขยายผล กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2  ให้ศาลใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ ที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ดังนั้นเมื่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ความช่วยเหลือในการบอกข้อมูลสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้กับเจ้าพนักงานหรือ  ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้

     ยกตัวอย่างเช่น มียาบ้าประมาณ 2,000 เม็ด เมื่อรับสารภาพศาลอาจลงโทษจำคุกเพียง   4 ปี เป็นต้น

    บทสรุปเมื่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกจับ ควรให้ความร่วมมือในการขยายผล เพื่อหาตัวการใหญ่ เพราะจะได้ประโยชน์จากมาตรา 100/2 


 

Tag : ทนายลำปาง, ทนายลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายลำปาง, ทนายความลำปาง, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง, ทนายลำปาง เก่ง ๆ, ปรึกษาทนายลำปาง,  ทนายอาสาลำปาง, สภาทนายลำปาง, ทนายความลำปางมืออาชีพ, ทนายความลำปางช่วยเหลือประชาชน, ทนายลำปางความมุ่งมั่น,ทนายความลำปางคลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายลำปางช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายลำปางมุ่งมั่น, สำนักงานกฎหมายลำปางคลายทุกข์ 


#สำนักงานทนายลำปาง #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดลำปาง #สำนักงานกฎหมายลำปาง #ทนายลำปางเก่งๆ #ปรึกษาทนายลำปาง #ทนายลำปาง #ทนายอาสาลำปาง #สภาทนายลำปาง #ทนายความลำปาง



Share on Facebook


Sidebar    Mozrank check tool
https://www.ultimatewebtraffic.com
ultimatewebtraffic com
1minutereview org/

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×